แพงพวยฝรั่ง

รหัสพรรณไม้  7-37000-002-084
ชื่อพื้นเมือง  แพงพวยฝรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์   Catharanthus roseus (L.) G.Don.
 วงศ์   Apocynaceae
ลักษณะวิสัย   ไม้ล้มลุก
ลักษณะเด่นของพืช  เป็นไม้ไม่ผลัดใบพุ่มเตี้ยหรือพืชโตชั่วฤดูสูงประมาณ 1 ม. ใบเป็นรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ยาว 2.5–9 ซม. กว้าง 1–3.5 ซม. สีเขียวเป็นมัน ไม่มีขน เส้นกลางใบซีดและก้านใบสั้น ยาว 1–1.8 ซม. ดอกมีสีขาวถึงชมพูเข้ม มีสีแดงตรงกลางดอก ฐานดอกรูปหลอดยาว 2.5-3 ซม. วงกลีบดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2–5 ซม. มี 5 แฉก 
บริเวณที่พบ   หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้ โรงเรียนอำนาจเจริญจังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002



มะเขือเทศ

รหัสพรรณไม้  7-37000-002-083
ชื่อพื้นเมือง  มะเขือเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์   Lycopersicon esculentum Mill. 
วงศ์   Solanaceae
ลักษณะวิสัย  ไม้ล้มลุก
ลักษณะเด่นของพืช มะเขือเทศเป็นไม้ล้มลุกทรงเตี้ย ลำต้นสูงสีเขียวมีขนอ่อนนุ่มปกคลุ่มอยู่ทั่วและมีเมือกเหนียว ใบเป็นใบเดี๋ยวเรียงสลับ ผลแตกต่างกันแต่ละพันธุ์ บางพันธุ์ผลกลม ยาวรี หรือเเป้น ผิวเปลือกเกลี้ยงเป็นมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกเต็มที่จะมีสีเหลืองหรือสีแดงสด 
บริเวณที่พบ    หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้ โรงเรียนอำนาจเจริญจังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002



ปูเล่

รหัสพรรณไม้   7-37000-002-082
ชื่อพื้นเมือง   ปูเล่
ชื่อวิทยาศาสตร์    Brassica oleraceae L. cv. gr. Collard
วงศ์    Cruciferae
ลักษณะวิสัย  ไม้ล้มลุก
ลักษณะเด่นของพืช ปูเล่ที่ปลูกมีหลายสายพันธุ์ บางพันธุ์มีลักษณะคล้ายกะหล่ำ บางชนิดมีสีม่วงปนเขียว บางชนิดคล้ายคะน้า แต่ใบใหญ่กว่ามาก 
บริเวณที่พบ    หน้าอาคาร 4

ที่มา  ทะเบียนพรรณไม้ โรงเรียนอำนาจเจริญจังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002



ผีเสื้อ

รหัสพรรณไม้  7-37000-002-081
ชื่อพื้นเมือง   ผีเสื้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์    Dianthus chinensis L.
วงศ์   Caryophyllaceae
ลักษณะวิสัย ไม้ล้มลุก
ลักษณะเด่นของพืช     เป็นไม้ดอกที่มีอายุได้ถึง 2 ปี แต่เดิมพืชในสกุลนี้รวมเรียกว่า Pink ทั้งหมดเนื่องจากมีดอกสีชมพูแต่ปัจจุบันชื่อPink หรือ Dianthus จะหมายถึงดอกผีเสื้อต้นสูงประมาณเมตร 15- 30 เซนติเมตร   ใบมีรูปร่างเรียวยาว ปลายแหลมสีเขียวเข้ม ดอกมีหลายสี เช่น สีชมพู
แดง ขาว หรือมีหลายสีในกลีบเดียวกัน
บริเวณที่พบ     หน้าอาคาร 4

ที่มา  ทะเบียนพรรณไม้ โรงเรียนอำนาจเจริญจังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002



เตยด่าง

รหัสพรรณไม้  7-37000-002-080
ชื่อพื้นเมือง  เตยด่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์    Pandanus sanderi  Sander ex M.T. Mast
วงศ์    PANDANACEAE
ลักษณะวิสัย ไม้พุ่ม
ลักษณะเด่นของพืช    ไม้พุ่มขนาดกลาง เป็นกอ ลำต้นสูง 2-3 ฟุต มีข้อถี่ ใบออกจากลำต้นเวียนชิดกันแน่น ใบแคบเรียวยาวมากปลายแหลม พื้นใบสีเขียวมีลายด่างขาวหรือเหลืองตามยาว ปลูกนาน ๆ จะดกมาก และจะมีรากอากาศ ขนาดใหญ่โผล่ออกมาค้ำไม่ให้ต้นล้ม
บริเวณที่พบ    หน้าอาคาร 4
ที่มา    ทะเบียนพรรณไม้ โรงเรียนอำนาจเจริญจังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002



ชวนชม

รหัสพรรณไม้   7-37000-002-073
ชื่อพื้นเมือง  ชวนชม
ชื่อวิทยาศาสตร์  
Adenium obesum  (Forssk.) 
ชื่อวงศ์  APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย  
ไม้พุ่ม
ลักษณะเด่นของพืช 
ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 ม. มียางใส ลำต้นและกิ่งก้านกลมเรียบ สีเขียวแกมเทา แตกกิ่งเป็นง่าม ค่อนข้างอวบน้ำ มีรอยแผลใบหลุดร่วง  
บริเวณที่พบ   หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้  โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002


สนฉัตร

รหัสพรรณไม้   7-37000-002-072
ชื่อพื้นเมือง  สนฉัตร
ชื่อวิทยาศาสตร์  
Araucaria heterophylla (Salisb.) Franco. 
ชื่อวงศ์  ARAUCARIACEAE
ลักษณะวิสัย  
ไม้ต้น
ลักษณะเด่นของพืช  
เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม หรือสีน้ำตาลอมเทา แตกสะเก็ดตามแนวขวางและมีรอยแผลการหลุดของกิ่ง  ชัดเจน ใบเกล็ด รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ปลายใบแหลมโค้งเข้าด้านใน มีติ่งหนาม  
บริเวณที่พบ   หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้  โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002


พวงชมพู

รหัสพรรณไม้   7-37000-002-071
ชื่อพื้นเมือง  พวงชมพู
ชื่อวิทยาศาสตร์  
Antigonon  leptopus Hook.&Arn. ExC.
ชื่อวงศ์  
POLYGONACEAE
ลักษณะวิสัย  
ไม้เลื้อย
ลักษณะเด่นของพืช  
ไม้เลื้อยที่มีเถาอ่อนแต่ตรงส่วนโคนจะแข็งแรงมาก  เถาจะทอดได้ยาวและเร็ว  ลำเถามีสีเขียวอ่อน  ใบ  ใบดกมากเป็นใบเดี่ยวออกทแยงขึ้นไปตามลำเถา  ลักษณะคล้ายใบโพธิ์  เนื้อใบบางเห็นเส้นใบได้ชัดมีสีแดงเรื่อ ๆ  ดอก  เป็นรูปหัวใจเล็กๆ บางทีก็มีสีขาว บางทีก็มีสีชมพู แก่บ้างอ่อนบ้าง 
บริเวณที่พบ   หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้  โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002


เล็บมือนาง

รหัสพรรณไม้   7-37000-002-070
ชื่อพื้นเมือง  เล็บมือนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์  
Quisqualis  conferta.
ชื่อวงศ์  COMBRETACEAE
ลักษณะวิสัย  
ไม้รอเลื้อย
ลักษณะเด่นของพืช  
ไม้เถาเลื้อย  เนื้อแข็ง ใบ    ใบเดี่ยว    เรียงตรงข้าม   รูปรีถึงรูปรี แกมรูปขอบขนาน  ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอก    สีขาว  เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีแดง  มีกลิ่นหอมแรงในช่วงค่ำถึงเช้า  ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงห้อยลงตามซอกใบที่ปลายกิ่ง 
บริเวณที่พบ   หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้  โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002


สนแผง

รหัสพรรณไม้  7-37000-002-069
ชื่อพื้นเมือง  สนแผง
ชื่อวิทยาศาสตร์   
Chamaecypasis obtuse (Siebold  & Zucc.)  Emdl.
ชื่อวงศ์  
CUPRESSACEAE
ลักษณะวิสัย  
ไม้ต้น
ลักษณะเด่นของพืช  
เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมแดง     เป็นใบไม้ร่วม แตกออกเป็นเกล็ดเล็กๆ   เรียงติดกันแน่นกับกิ่ง  ซึ่งอยู่ลักษณะเป็นแผง 
บริเวณที่พบ   หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้  โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002


โมก

รหัสพรรณไม้  7-37000-002-068
ชื่อพื้นเมือง  โมก
ชื่อวิทยาศาสตร์  
Wrightia religiosa Benth. ex Kurz. 
ชื่อวงศ์  APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย  
ไม้พุ่ม
ลักษณะเด่นของพืช  
เปลือกต้นเรียบเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาลเข้ม และมีขุดเล็ก ๆ สีขาวประอยู่ทั่วไป แตกกิ่งต่ำใกล้ผิวดินเป็นลำต้นจำนวนมาก ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ
บริเวณที่พบ   หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้  โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002


โป๊ยเซียน

รหัสพรรณไม้  7-37000-002-067
ชื่อพื้นเมือง  โป๊ยเซียน
ชื่อวิทยาศาสตร์   
Eupatorium milii  Des Moul.
ชื่อวงศ์  
ASTERACEAE
ลักษณะวิสัย  
ไม้รอเลื้อย
ลักษณะเด่นของพืช  
ลำต้นกลมมีหนาม มียางสีขาว ดอกหลายสี 
บริเวณที่พบ   หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้  โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002


ขี้เหล็ก

รหัสพรรณไม้  7-37000-002-066 
ชื่อพื้นเมือง  ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์  
Senna siamea (Lam.)H.S. Irwin & Barneby 
ชื่อวงศ์  FABACEAE
ลักษณะวิสัย   
ไม้ต้น
ลักษณะเด่นของพืช   
ลำต้นสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน  ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบน เกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบน
บริเวณที่พบ   หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้  โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002



จันทน์ผา

รหัสพรรณไม้   7-37000-002-065
ชื่อพื้นเมือง   จันทน์ผา
ชื่อวิทยาศาสตร์   
Dracaena cochinchinensis (Lour.) S.C. Chen 
ชื่อวงศ์   
ASPARAGACEAE
ลักษณะวิสัย   
ไม้พุ่ม
ลักษณะเด่นของพืช   
ลำต้นตั้งตรง กลม เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว ไม่มีกิ่งก้าน ใบจะออกตามลำต้น ใบสีเขียวเข้ม เป็นรูปหอก ใบเรียวและยาว ปลายใบแหลม
บริเวณที่พบ   หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้  โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002



ปาล์มขวด

รหัสพรรณไม้  7-37000-002-064
ชื่อพื้นเมือง  ปาล์มขวด 
ชื่อวิทยาศาสตร์  Roystonea regia (Kunth) O.F. Cook. 
ชื่อวงศ์  
ARECACEAE
ลักษณะวิสัย  
ปาล์ม
ลักษณะเด่นของพืช  
ปาล์มขวดเป็นปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นคอดใกล้โคนและป่องกลาง คอสีเขียวเข้ม ใบรูปขนนก ใบ ย่อยเรียวยาวและแตกออกเป็นสองทิศทาง ช่อดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกใต้คอ
บริเวณที่พบ  หน้าอาคาร 4

ที่มา ทะเบียนพรรณไม้  โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสสมาชิก 7-37000-002



แพงพวยฝรั่ง

รหัสพรรณไม้  7-37000-002-084 ชื่อพื้นเมือง   แพงพวยฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์     Catharanthus roseus (L.) G.Don.   วงศ์    Apocynaceae ...